Description
Digital Data
TITLE:
ลำพูน
AUTHOR:
หอภาพถ่ายล้านนา ,มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
KEYWORDS:
กัณฑ์ที่ 4, กัณฑ์วนประเวศน์, การแต่งกายแบบชายชาวพม่า, การแต่งกายแบบชายชาวไทยวน, การแต่งกายแบบหญิงชาวไทยวน, จิตรกรรมบนผืนผ้า, ชาดก, ซิ่นต๋า, ตำบลเวียงยอง, ตุงค่าว, ตุงค่าวธรรม, ท้าววิษณุกรรม, ท้าวสักกะเทวราช, นครเจตราช, นุ่งผ้าต้อย, นุ่งโจงกระเบน, ประวัติศาสตร์ภาพเขียน, ประวัติศาสตร์ล้านนา, ประวัติศาสตร์ลำพูน, ประเทศไทย, ผ้าลุนตยา-อชิค, พระบฏ, พระฤๅษี, พระอินทร์, พระเวสสันดรชาชก, พรานเจตบุตร, ภาคเหนือ, ภาพถ่ายจิตรกรรม, ภาพพระบฏ, ภาพเขียนบนผืนผ้า, ภาพเขียนสีฝุ่นบนผืนผ้า, มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, ร่ม, ร่มแบบฝรั่ง, ราชรถ, ฤๅษี, ล้านนา, ลายสักยันต์, ลำพูน, วัดพระยืนพุทธบาทยุคล (วัดพระยืน), สักขาลาย, สักเตี่ยวก้อม, หอภาพถ่ายล้านนา, อำเภอเมืองลำพูน, เขาวงกต, เค็ดม้าม, เจตบุตรพรานไพร, เวสสันดรชาดก, โจงกระเบน
DESCRIPTION:
ภาพวาดแผ่นนี้เป็นกัณฑ์ที่กัณฑ์ที่ ๔ วนประเวศน์ เป็นกัณฑ์สี่กษัตริย์เดินดงบ่ายประพักตร์สู่เขาวงกต เมื่อเดินทางถึงนครเจตราชทั้งสี่กษัตริย์จึงแวะเข้าประทับพักหน้าศาลาพระกษัตริย์ผู้ครองนครเจตราชจึงทูลเสด็จครองเมืองแต่พระเวสสันดรทรงปฏิเสธ เพราะพระเวสสันดรทรงตั้งพระทัยที่จะทรงออกผนวช พระกษัตริย์ผู้ครองนครเจตราชทรงตั้งเจตบุตรพรานไพร ให้เป็นพนักงานรักษาประตูป่าถวายอารักขาคุ้มภัยให้เป็นพิเศษด้วยและเมื่อเสด็จถึงถึงเขาวงกตได้พบศาลาอาศรม ซึ่งท้าววิษณุกรรมเนรมิตตามพระบัญชาของท้าวสักกะเทวราช กษัตริย์ทั้งสี่จึงทรงผนวชเป็นฤๅษีพำนักในอาศรมสืบมา
ในภาพเป็นเหตุการณ์ที่พระเวสสันดร พระนางมัทรี กัณหาและชาลีประทับยังพลับพลาหน้าเมืองเจตราชมีพรานเจตบุตรเฝ้ารับอยู่ด้านหน้า แวดล้อมด้วยเหล่าเสนาอมาตย์นางสนมกำนัลและทหาร พรเวสสันดรทรงเครื่องทรงที่เป็นการผสมผสานระหว่างไทยและพม่า กล่าวคืิอทรงเครื่องด้านบนคือเสื้อและเครื่องบนพระเศียรเป็นแบบทางกษัตริย์ของไทยแต่ทรงสวมโสร่งผ้าลุนตยา-อชิค ของพม่า ส่วนพระนางมัทรีและนางสนมกำนัลที่อยู่หน้าพลับพลามีการแต่งกายคือมีผ้ามาห่มแบบสไบเรียกว่าการห่มแบบ”สะหว้ายแล่ง” นุ่งผ้า”ซิ่นต๋า”เป็นผ้าซิ่นที่มีลวดลายเส้นในแนวขวางลำตัว มีการทำผมมุ่นมวยไว้กลางศีรษะ ที่ล้วนเป็นเอกลักษณ์เฉพาะของหญิงชาวไทยวนในช่วงเวลานั้นของแถบนี้ ส่วนข้าราชบริพารชายที่นั่งหน้าพลับพลามีการแต่งกายแบบชายไทยในกรุงเทพคือมีการสวมเสื้อแขนยาวไว้ผมสั้น สวมโจงกระเบน ส่วนกลุ่มชายที่อยู่หลังพลับพลามีการแต่งกายแบบชายไทยในกรุงเทพเช่นกันและมีการสวมหมวกแบบของชาติตะวันตกที่รับมาจากกรุงเทพอีกต่อหนึ่ง แต่เป็นที่น่าสังเกตที่ชายที่ขี่ม้ามีการใส่เสื้อที่ดูแปลกแตกต่างเนื่องจากใส่เสื้อลายทางที่ดูคล้ายใช้ผ้าลุนตยา-อชิคมาตัดเป็นเสื้อ ส่วนทหารยามที่นั่งอยู่หน้าและยืนด้านหลังพลับพลาแต่งเครื่องแบบทหารที่พบได้ในกรุงเทพเช่นกัน
ในภาพเป็นเหตุการณ์ที่พระเวสสันดร พระนางมัทรี กัณหาและชาลีประทับยังพลับพลาหน้าเมืองเจตราชมีพรานเจตบุตรเฝ้ารับอยู่ด้านหน้า แวดล้อมด้วยเหล่าเสนาอมาตย์นางสนมกำนัลและทหาร พรเวสสันดรทรงเครื่องทรงที่เป็นการผสมผสานระหว่างไทยและพม่า กล่าวคืิอทรงเครื่องด้านบนคือเสื้อและเครื่องบนพระเศียรเป็นแบบทางกษัตริย์ของไทยแต่ทรงสวมโสร่งผ้าลุนตยา-อชิค ของพม่า ส่วนพระนางมัทรีและนางสนมกำนัลที่อยู่หน้าพลับพลามีการแต่งกายคือมีผ้ามาห่มแบบสไบเรียกว่าการห่มแบบ”สะหว้ายแล่ง” นุ่งผ้า”ซิ่นต๋า”เป็นผ้าซิ่นที่มีลวดลายเส้นในแนวขวางลำตัว มีการทำผมมุ่นมวยไว้กลางศีรษะ ที่ล้วนเป็นเอกลักษณ์เฉพาะของหญิงชาวไทยวนในช่วงเวลานั้นของแถบนี้ ส่วนข้าราชบริพารชายที่นั่งหน้าพลับพลามีการแต่งกายแบบชายไทยในกรุงเทพคือมีการสวมเสื้อแขนยาวไว้ผมสั้น สวมโจงกระเบน ส่วนกลุ่มชายที่อยู่หลังพลับพลามีการแต่งกายแบบชายไทยในกรุงเทพเช่นกันและมีการสวมหมวกแบบของชาติตะวันตกที่รับมาจากกรุงเทพอีกต่อหนึ่ง แต่เป็นที่น่าสังเกตที่ชายที่ขี่ม้ามีการใส่เสื้อที่ดูแปลกแตกต่างเนื่องจากใส่เสื้อลายทางที่ดูคล้ายใช้ผ้าลุนตยา-อชิคมาตัดเป็นเสื้อ ส่วนทหารยามที่นั่งอยู่หน้าและยืนด้านหลังพลับพลาแต่งเครื่องแบบทหารที่พบได้ในกรุงเทพเช่นกัน
PUBLISHER:
หอภาพถ่ายล้านนา ,มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
OTHER CONTRIBUTORS:
สาขาวิชาศิลปะการถ่ายภาพ ภาควิชาสื่อศิลปะและการออกแบบสื่อ คณะวิจิตรศิลป์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
DATE:
08/04/2562
RESOURCE TYPE:
จิตรกรรมฝาผนัง
FORMAT:
Image/jpeg
RESOURCE IDENTIFIER:
คณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิหอภาพถ่ายล้านนา ในกำกับของกรรมการอำนวยการหอภาพถ่ายล้านนา
SOURCE:
จิตรกรรมฝาผนัง
LANGUAGE:
ไทย/อังกฤษ
RELATION:
พระบฏ คือ ผืนผ้าที่มีรูปพระพุทธเจ้าเป็นต้นและแขวนไว้เพื่อบูชา คำว่า บฏ มาจากคำในภาษาบาลีว่า ปฏ (อ่านว่า ปะ-ตะ) แปลว่า ผ้าทอ หรือ ผืนผ้า ส่วนมากเป็นผ้าแถบยาว มีวาดภาพพระพุทธเจ้า นิยมแขวนไว้ในสถานที่จัดพิธีกรรมในพุทธศาสนา ใช้แทนที่พระพุทธรูป เพื่อเป็นที่เคารพบูชา ในล้านนาเรียกกันว่า “ตุงค่าว” หรือ ตุงค่าวธรรม ใช้ประกอบพิธีกรรมทางศาสนา เช่น เทศน์มหาชาติ เเละตั้งธรรมหลวง เป็นต้น |
COVERAGE:
RIGHT MANAGEMENT:
หอภาพถ่ายล้านนา ,มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
Physical Data
COLLECTION NAME:
ลำพูน
IMAGE CODE:
02_28_20190617_MR28-01_09
SUBJECT AGE:
ประมาณกลางพุทธศตวรรษที่ 25
CATEGORY:
ภาพจิตรกรรมบนผืนผ้า (พระบฏ)
PROVENANCE:
รองศาสตราจารย์กันต์ พูนพิพัฒน์
COVERAGE:
ORIGINAL SIZE:
147 x 86 cm.
DIGITAL SIZE:
2525 x 4000 Pixels