Description
Digital Data
TITLE:
ลำพูน
AUTHOR:
หอภาพถ่ายล้านนา ,มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
KEYWORDS:
กัณฑ์ที่ 2, กัณฑ์หิมพานต์, การแต่งกายเเบบชายไทยในกรุงเทพ, จิตรกรรมบนผืนผ้า, ช้าง, ช้างปัจจัยนาเคน, ชาดก, ตำบลเวียงยอง, ตุงค่าว, ตุงค่าวธรรม, น้ำทักษิโณทก, นุ่งผ้าต้อย, นุ่งโจงกระเบน, ประวัติศาสตร์ภาพเขียน, ประวัติศาสตร์ล้านนา, ประวัติศาสตร์ลำพูน, ประเทศไทย, พระกัณหา, พระชาลี, พระนางมัทรี, พระบฏ, พระเวสสันดร, พระเวสสันดรชาชก, พราหมณ์ทั้ง 8, ภาคเหนือ, ภาพถ่ายจิตรกรรม, ภาพพระบฏ, ภาพเขียนบนผืนผ้า, ภาพเขียนสีฝุ่นบนผืนผ้า, มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, ล้านนา, ลำพูน, วัดพระยืนพุทธบาทยุคล (วัดพระยืน), สักขาลาย, สักเตี่ยวก้อม, สักเเบบล้านนา, หอภาพถ่ายล้านนา, อำเภอเมืองลำพูน, เค็ดม้าม, เครื่องทรงแบบทางกษัตริย์ของไทย, เมืองกลิงคราฐ, เมืองสิพี, เมืองสีพีนคร, เวสสันดรชาดก
DESCRIPTION:
ภาพกัณฑ์ที่ 2 กัณฑ์หิมพานต์ เป็นเหตุการณ์ที่พระเวสสันดรหลั่งน้ำทักษิโณทก ยกช้างปัจจัยนาเคนให้แก่พราหมณ์ทั้ง 8 ที่มาจากเมืองกลิงคราฐ เป็นเหตุทำให้ชาวเมืองสิพีเกิดความโกรธแค้น จึงขับไล่พระเวสสันดรพร้อมพระนางมัทรีและชาลีพระโอรส กัณหาพระราชธิดาออกจากเมืองสิพี ในภาพด้านล่างซ้ายเป็นพราหมณ์ทั้ง 8 จากเมืองกลิงคราชขณะเข้าเฝ้าพระเวสสันดรหลั่งทักษิโณทกยกช้างปัจจัยนาเคนให้ พระเวสสันดรทรงเครื่องทรงแบบทางกษัตริย์ของไทย ส่วนพราหมณ์ทั้ง 8 เครื่องแต่งกายที่ได้รับอิทธิพลจากการแต่งกายของชายไทยในกรุงเทพเช่นกันคือ สวมเสื้อแขนยาวนุ่งโจงกระเบนไว้ผมสั้น มุมขวาล่างเป็นภาพช้างปัจจัยนาเคนยืนโรง ลักษณะโรงช้างเป็นแบบสถาปัตยกรรมของทางล้านนา ด้านหน้ามีควาญช้างยืนอยู่ 2 คน การแต่งกายของควาญช้างเป็นแบบชายในล้านนาคือ ไม่สวมเสื้อใว้ผมสั้น นุ่งผ้ามีลวดลายหรือผ้าพื้นสีเรียบผืนเดียวที่เรียกว่านุ่งแบบ”นุ่งผ้าต้อย”หรือ“เค็ดม่าม”โดยจะม้วนผ้าเป็นเกลียวสอดระหว่างขาเป็นการนุ่งแบบเดียวกับการถกเขมรหรือโจงกระเบน เผยให้เห็นลายสักยันต์ตั้งแต่ท้องน้อยจนถึงหัวเข่า ที่มีสวดลายสัตว์หิมพานต์ อันเป็นเอกลักษณ์อย่างหนึ่งของชายชาวไทยวนในแถบนี้ ด้านบนมีชายชาวเมืองสิพีนั่งร้องไห้อยู่ใต้ท้องช้างปัจจัยนาเคน ซึ่งมีการแต่งกายที่ได้รับอิทธิพลจากการแต่งกายของชายไทยในกรุงเทพเช่นกันคือ สวมเสื้อแขนยาวนุ่งโจงกระเบนไว้ผมสั้น
PUBLISHER:
หอภาพถ่ายล้านนา ,มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
OTHER CONTRIBUTORS:
สาขาวิชาศิลปะการถ่ายภาพ ภาควิชาสื่อศิลปะและการออกแบบสื่อ คณะวิจิตรศิลป์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
DATE:
08/04/2562
RESOURCE TYPE:
จิตรกรรมฝาผนัง
FORMAT:
Image/jpeg
RESOURCE IDENTIFIER:
คณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิหอภาพถ่ายล้านนา ในกำกับของกรรมการอำนวยการหอภาพถ่ายล้านนา
SOURCE:
จิตรกรรมฝาผนัง
LANGUAGE:
ไทย/อังกฤษ
RELATION:
พระบฏ คือ ผืนผ้าที่มีรูปพระพุทธเจ้าเป็นต้นและแขวนไว้เพื่อบูชา คำว่า บฏ มาจากคำในภาษาบาลีว่า ปฏ (อ่านว่า ปะ-ตะ) แปลว่า ผ้าทอ หรือ ผืนผ้า ส่วนมากเป็นผ้าแถบยาว มีวาดภาพพระพุทธเจ้า นิยมแขวนไว้ในสถานที่จัดพิธีกรรมในพุทธศาสนา ใช้แทนที่พระพุทธรูป เพื่อเป็นที่เคารพบูชา ในล้านนาเรียกกันว่า “ตุงค่าว” หรือ ตุงค่าวธรรม ใช้ประกอบพิธีกรรมทางศาสนา เช่น เทศน์มหาชาติ เเละตั้งธรรมหลวง เป็นต้น
COVERAGE:
RIGHT MANAGEMENT:
หอภาพถ่ายล้านนา ,มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
Physical Data
COLLECTION NAME:
ลำพูน
IMAGE CODE:
02_28_20190617_MR28-01_04
SUBJECT AGE:
ประมาณกลางพุทธศตวรรษที่ 25
CATEGORY:
ภาพจิตรกรรมบนผืนผ้า (พระบฏ)
PROVENANCE:
รองศาสตราจารย์กันต์ พูนพิพัฒน์
COVERAGE:
ORIGINAL SIZE:
147 x 86 cm.
DIGITAL SIZE:
2525 x 4000 Pixels