Description
Digital Data
TITLE:
ลำพูน
AUTHOR:
หอภาพถ่ายล้านนา มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
KEYWORDS:
กัณฑ์ชูชก, กัณฑ์ที่ 5, การนุ่งซิ่นเเบบล้านนา, กุบ, จิตรกรรมบนผืนผ้า, ชาดก, ชูชก, ซิ่นต๋า, ตำบลเวียงยอง, ตุงค่าว, ตุงค่าวธรรม, ถุงย่าม, นางอมิตดา, น้ำทุ่ง, นุ่งผ้าต้อย, นุ่งโจงกระเบน, ประวัติศาสตร์ภาพเขียน, ประวัติศาสตร์ล้านนา, ประวัติศาสตร์ลำพูน, ประเทศไทย, พระบฏ, พระเวสสันดรชาชก, พราหมณ์, ภาคเหนือ, ภาพถ่ายจิตรกรรม, ภาพพระบฏ, ภาพเขียนบนผืนผ้า, ภาพเขียนสีฝุ่นบนผืนผ้า, มหาวิทยาลัย เชียงใหม่, ล้านนา, ลำพูน, วัดพระยืนพุทธบาทยุคล (วัดพระยืน), สถาปัตยกรรมเเบบล้านนา, สะหว้ายแล่ง, สุนัข, หมวก, หมวกกุบทำจากใบตาน, หมูดำ, หอภาพถ่ายล้านนา, อำเภอเมืองลำพูน, เค็ดม้าม, เครื่องจักสาน, เรือนกาเเล, เวสสันดรชาดก, โจงกระเบน
DESCRIPTION:
ภาพวาดแผ่นนี้เป็นเรื่องกัณฑ์ที่ 5 กัณฑ์ชูชก เป็นกัณฑ์ที่ชูชกหมายจะได้โอรส และธิดา คือกัณหาและชาลีของพระเวสสันดรมาเป็นทาส เพื่อมาเป็นทาสรับใช้ของนางอมิตดาภรรยาของชูชก
ความเดิม ในแคว้นกาลิงคะมี ขอทานเฒ่านาม “ชูชก” ได้เที่ยวขอทานเก็บเงินได้ถึง ๑๐๐ กษาปณ์ จึงนำเงิน ไปฝากเพื่อนไว้พลางคุยอวดเศรษฐีอย่างปีตินัก จากนั้นก็ออกเดินทางตระเวนขอเงินสืบไป ส่วนพราหมณ์ผัวเมียเก็บเงินไว้นานแล้ว เห็นว่าชูชกไม่มาเอาสักที คิดว่าชูชกคงจะตายไปแล้ว จึงชวนกันนำเงินนั้นออกมาใช้จ่ายเสียจนหมดทั้งสิ้น ครั้นชูชกหวนกลับมาทวงเอาเงินสองผัวเมียก็ตกใจงันงกมิรู้จะทำประการใด พราหมณ์ทั้งสองจึงยกลูกสาวคือนางอมิตดาให้แก่ชูชก
ทั้งที่ชูชกมีรูปร่างอุบาทว์อัปลักษณ์ยิ่งนัก แต่นางอมิตดาก็ขยันปรนนิบัติสามีเป็นอย่างดี นางตักน้ำ ตำข้าว หุงหาอาหาร ดูแลบ้านเรือนไม่มีขาดตกบกพร่อง ความประพฤติที่ดีเพียบพร้อมของนางอมิตดาทำให้เป็นที่สรรเสริญของบรรดาพราหมณ์ทั้งหลายในหมู่บ้านนั้น ในไม่ช้า บรรดาพราหมณ์เหล่านั้นก็พากันตำหนิติเตียนภรรยาของตน ที่มิได้ประพฤติตนเป็นแม่บ้านแม่เรือนอย่างนางอมิตดา ทำให้พวกภรรยาของพราหมณ์อิจฉาริษยามาคอยด่าทอนางอมิตดาอยู่ทุกวัน นางอมิตดา ถูกรุมด่าก็หิ้วหม้อน้ำร้องไห้กลับบ้าน บอกแก่ชูชกว่าจะไม่ไปตักน้ำและไม่ทำงานบ้านอีกแล้ว ขอให้ชูชกไปทูลขอกัณหาชาลี จากพระเวสสันดร มาช่วยงานบ้านก็แล้วกัน ในภาพจิตรกรรมด้านล่างจะเห็นนางอมิตดาถูกเหล่าภรรยาของพราหมณ์ทั้งหลายรุมด่าจากความอิจฉาริษยา ด้านบนฝั่งขวานางอมิตดานั่งอยู่ในเรือนทรงกาแลพร้อมกับชูชกและได้บอกชูชกว่าจะไม่ทำงานบ้านอีกต่อไป ให้ชูชกไปขอกัณหาชาลีจากพระเวสสันดร ฝั่งฐ้ายบนของภาพชูชกขณะเดินออกจากบ้านเพื่อไปตามหาพระเวสสันดรเพื่อทูลขอกัณหาและชาลี การแต่งกายของนางอมิตดาและหญิงในภาพเป็นการแต่งกายของหญิงชาวไทยวนคือเปลือยอกหรือมีผ้ามาห่มแบบสไบเรียกว่าการห่มแบบ “สะหว้ายแล่ง”หรือนำผ้ามาคลุมไหล่ นุ่งผ้า “ซิ่นต๋า”เป็นผ้าซิ่นที่มีลวดลายเส้นในแนวขวางลำตัว มีการทำผมมุ่นมวยต่ำไว้ด้านหลัง ที่ล้วนเป็นเอกลักษณ์เฉพาะของหญิงชาวไทยวนในแถบนี้ นางอมิตดาหาบ “น้ำทุ่ง”ที่เป็นเครื่องจักสานทำจากไม่ไผ่เคลือบด้วยชันหรือรักเพื่อกันน้ำรั่ว ส่วนชูชกแต่งกายคล้ายชายชาวไทยวนคือไม่สวมเสื้อใว้ผมสั้นสะพายย่ามขาวแซงดำแดงที่เป็นย่ามของชาวไทยวน นุ่งผ้าผ้าพื้นสีเรียบผืนเดียวที่เรียกว่านุ่งแบบ “นุ่งผ้าต้อย”หรือ“เค็ดม่าม”โดยจะม้วนผ้าเป็นเกลียวสอดระหว่างขาเป็นการนุ่งแบบเดียวกับการถกเขมรหรือโจงกระเบน เห็นลายสักยันต์แต่เป็นลายสักยันต์ที่ไม่เหมือนที่พบได้ทั่วไป สวมรองเท้าแตะที่น่าจะได้รับอิทธิพลจากทางกรุงเทพ ส่วนเรือนอาศัยของชูชกและนางอมิตดา เป็นเรือนของทางล้านนาเรียกว่าเรือน “กาแล” นอกจากนี้ยังได้วาดสภาพแวดล้อมในสมัยนั้นลงไปด้วยตั้งแต่มีการเลี้ยงสุนัข ที่ยืนอยู่ในและหน้าเรือน อีกทั้งยังมีการเลี้ยงหมูอยูใต้ถุนของเรือนอีกด้วย
ความเดิม ในแคว้นกาลิงคะมี ขอทานเฒ่านาม “ชูชก” ได้เที่ยวขอทานเก็บเงินได้ถึง ๑๐๐ กษาปณ์ จึงนำเงิน ไปฝากเพื่อนไว้พลางคุยอวดเศรษฐีอย่างปีตินัก จากนั้นก็ออกเดินทางตระเวนขอเงินสืบไป ส่วนพราหมณ์ผัวเมียเก็บเงินไว้นานแล้ว เห็นว่าชูชกไม่มาเอาสักที คิดว่าชูชกคงจะตายไปแล้ว จึงชวนกันนำเงินนั้นออกมาใช้จ่ายเสียจนหมดทั้งสิ้น ครั้นชูชกหวนกลับมาทวงเอาเงินสองผัวเมียก็ตกใจงันงกมิรู้จะทำประการใด พราหมณ์ทั้งสองจึงยกลูกสาวคือนางอมิตดาให้แก่ชูชก
ทั้งที่ชูชกมีรูปร่างอุบาทว์อัปลักษณ์ยิ่งนัก แต่นางอมิตดาก็ขยันปรนนิบัติสามีเป็นอย่างดี นางตักน้ำ ตำข้าว หุงหาอาหาร ดูแลบ้านเรือนไม่มีขาดตกบกพร่อง ความประพฤติที่ดีเพียบพร้อมของนางอมิตดาทำให้เป็นที่สรรเสริญของบรรดาพราหมณ์ทั้งหลายในหมู่บ้านนั้น ในไม่ช้า บรรดาพราหมณ์เหล่านั้นก็พากันตำหนิติเตียนภรรยาของตน ที่มิได้ประพฤติตนเป็นแม่บ้านแม่เรือนอย่างนางอมิตดา ทำให้พวกภรรยาของพราหมณ์อิจฉาริษยามาคอยด่าทอนางอมิตดาอยู่ทุกวัน นางอมิตดา ถูกรุมด่าก็หิ้วหม้อน้ำร้องไห้กลับบ้าน บอกแก่ชูชกว่าจะไม่ไปตักน้ำและไม่ทำงานบ้านอีกแล้ว ขอให้ชูชกไปทูลขอกัณหาชาลี จากพระเวสสันดร มาช่วยงานบ้านก็แล้วกัน ในภาพจิตรกรรมด้านล่างจะเห็นนางอมิตดาถูกเหล่าภรรยาของพราหมณ์ทั้งหลายรุมด่าจากความอิจฉาริษยา ด้านบนฝั่งขวานางอมิตดานั่งอยู่ในเรือนทรงกาแลพร้อมกับชูชกและได้บอกชูชกว่าจะไม่ทำงานบ้านอีกต่อไป ให้ชูชกไปขอกัณหาชาลีจากพระเวสสันดร ฝั่งฐ้ายบนของภาพชูชกขณะเดินออกจากบ้านเพื่อไปตามหาพระเวสสันดรเพื่อทูลขอกัณหาและชาลี การแต่งกายของนางอมิตดาและหญิงในภาพเป็นการแต่งกายของหญิงชาวไทยวนคือเปลือยอกหรือมีผ้ามาห่มแบบสไบเรียกว่าการห่มแบบ “สะหว้ายแล่ง”หรือนำผ้ามาคลุมไหล่ นุ่งผ้า “ซิ่นต๋า”เป็นผ้าซิ่นที่มีลวดลายเส้นในแนวขวางลำตัว มีการทำผมมุ่นมวยต่ำไว้ด้านหลัง ที่ล้วนเป็นเอกลักษณ์เฉพาะของหญิงชาวไทยวนในแถบนี้ นางอมิตดาหาบ “น้ำทุ่ง”ที่เป็นเครื่องจักสานทำจากไม่ไผ่เคลือบด้วยชันหรือรักเพื่อกันน้ำรั่ว ส่วนชูชกแต่งกายคล้ายชายชาวไทยวนคือไม่สวมเสื้อใว้ผมสั้นสะพายย่ามขาวแซงดำแดงที่เป็นย่ามของชาวไทยวน นุ่งผ้าผ้าพื้นสีเรียบผืนเดียวที่เรียกว่านุ่งแบบ “นุ่งผ้าต้อย”หรือ“เค็ดม่าม”โดยจะม้วนผ้าเป็นเกลียวสอดระหว่างขาเป็นการนุ่งแบบเดียวกับการถกเขมรหรือโจงกระเบน เห็นลายสักยันต์แต่เป็นลายสักยันต์ที่ไม่เหมือนที่พบได้ทั่วไป สวมรองเท้าแตะที่น่าจะได้รับอิทธิพลจากทางกรุงเทพ ส่วนเรือนอาศัยของชูชกและนางอมิตดา เป็นเรือนของทางล้านนาเรียกว่าเรือน “กาแล” นอกจากนี้ยังได้วาดสภาพแวดล้อมในสมัยนั้นลงไปด้วยตั้งแต่มีการเลี้ยงสุนัข ที่ยืนอยู่ในและหน้าเรือน อีกทั้งยังมีการเลี้ยงหมูอยูใต้ถุนของเรือนอีกด้วย
PUBLISHER:
หอภาพถ่ายล้านนา มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
OTHER CONTRIBUTORS:
สาขาวิชาศิลปะการถ่ายภาพ ภาควิชาสื่อศิลปะและการออกแบบสื่อ คณะวิจิตรศิลป์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
DATE:
08/04/2562
RESOURCE TYPE:
จิตรกรรมฝาผนัง
FORMAT:
Image/jpeg
RESOURCE IDENTIFIER:
คณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิหอภาพถ่ายล้านนา ในกำกับของกรรมการอำนวยการหอภาพถ่ายล้านนา
SOURCE:
จิตรกรรมฝาผนัง
LANGUAGE:
ไทย/อังกฤษ
RELATION:
พระบฏ คือ ผืนผ้าที่มีรูปพระพุทธเจ้าเป็นต้นและแขวนไว้เพื่อบูชา คำว่า บฏ มาจากคำในภาษาบาลีว่า ปฏ (อ่านว่า ปะ-ตะ) แปลว่า ผ้าทอ หรือ ผืนผ้า ส่วนมากเป็นผ้าแถบยาว มีวาดภาพพระพุทธเจ้า นิยมแขวนไว้ในสถานที่จัดพิธีกรรมในพุทธศาสนา ใช้แทนที่พระพุทธรูป เพื่อเป็นที่เคารพบูชา ในล้านนาเรียกกันว่า “ตุงค่าว” หรือ ตุงค่าวธรรม ใช้ประกอบพิธีกรรมทางศาสนา เช่น เทศน์มหาชาติ เเละตั้งธรรมหลวง เป็นต้น |
COVERAGE:
RIGHT MANAGEMENT:
หอภาพถ่ายล้านนา มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
Physical Data
COLLECTION NAME:
ลำพูน
IMAGE CODE:
02_28_20190617_MR28-01_10
SUBJECT AGE:
ประมาณกลางพุทธศตวรรษที่ 25
CATEGORY:
ภาพจิตรกรรมบนผืนผ้า (พระบฏ)
PROVENANCE:
รองศาสตราจารย์กันต์ พูนพิพัฒน์
COVERAGE:
ORIGINAL SIZE:
147 x 86 cm.
DIGITAL SIZE:
2525 x 4000 Pixels