Description
Digital Data
TITLE:
ลำพูน
AUTHOR:
หอภาพถ่ายล้านนา ,มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
KEYWORDS:
กัณฑ์จุลพน, กัณฑ์ที่ 6, จิตรกรรมบนผืนผ้า, ชาดก, ชูชก, ตำบลเวียงยอง, ตุงค่าว, ตุงค่าวธรรม, ถุงย่าม, นครสีพี, นุ่งผ้าต้อย, นุ่งโจงกระเบน, ประวัติศาสตร์ภาพเขียน, ประวัติศาสตร์ล้านนา, ประวัติศาสตร์ลำพูน, ประเทศไทย, พระบฏ, พระเวสสันดรชาชก, พรานเจตบุตร, ภาคเหนือ, ภาพถ่ายจิตรกรรม, ภาพพระบฏ, ภาพเขียนบนผืนผ้า, ภาพเขียนสีฝุ่นบนผืนผ้า, มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, ล้านนา, ลำพูน, วัดพระยืนพุทธบาทยุคล (วัดพระยืน), สะหว้ายแล่ง, สักขาลาย, สักยันต์, สักเตี่ยวก้อม, สักเเบบล้านนา, สุนัข, หมวก, หมา, หอภาพถ่ายล้านนา, อำเภอเมืองลำพูน, เขาวงกต, เค็ดม้าม, เครื่องเเต่งกายชายเเบบทางกรุงเทพ, เมืองสีพีนคร, เวสสันดรชาดก, โจงกระเบน
DESCRIPTION:
ภาพวาดแผ่นนี้เป็นเรื่อง กัณฑ์ที่ 6 กัณฑ์จุลพน เป็นกัณฑ์ที่พรานเจตบุตร หลงคำชูชก และชี้ทางสู่อาศรมอัจจุตฤๅษี ชูชกได้ชูกลักลักพริกขิงแก่พรานเจตบุตรอ้างว่าเป็นพระราชสาสน์ของเจ้ากรุงสัญชัย จึงได้พาไปยังต้นทางที่จะไปอาศรมอัจจตุฤๅษี ฝั่งขวาของภาพเป็นเหตุการณ์ที่ชูชกได้หลอกพรานเจตบุตรให้บอกทางไปสู่อาศรมอัจจุตฤๅษี ฝั่งซ้ายของภาพเป็นเหตุการณืที่ชูชกได้เดินทางไปยังอาศรมอัจจตุฤๅษี ด้านล่างในภาพจะเห็นสุนัขของพรานเจตบุตร เป็นภาพที่แสดงให้เห็นถึงความผูกพันระหว่างคนและสุนัขที่มีมาแต่อดีตกาล การแต่งกายของพรานเจตบุตรที่ไม่สวมเสื้อใว้ผมสั้น นุ่งผ้ามีลวดลายผืนเดียวที่เรียกว่านุ่งแบบ “นุ่งผ้าต้อย”หรือ“เค็ดม่าม”โดยจะม้วนผ้าเป็นเกลียวสอดระหว่างขาเป็นการนุ่งแบบเดียวกับการถกเขมรหรือโจงกระเบน เผยให้เห็นลายสักยันต์ตั้งแต่ท้องน้อยจนถึงหัวเข่าที่มีสวดลายสัตว์หิมพานต์ และเหน็บมีดสั้นด้ามมีการแกะลวดลาย อันเป็นเอกลักษณ์อย่างหนึ่งของชายชาวไทยวนในแถบนี้ ส่วนชูชกไม่สวมเสื้อไว้ผมสั้นสะพายย่ามขาวแซงดำแดงที่เป็นย่ามของชาวไทยวน นุ่งผ้าผ้าพื้นสีเรียบผืนเดียวที่เรียกว่านุ่งแบบ “นุ่งผ้าต้อย”หรือ“เค็ดม่าม”เห็นลายสักยันต์แต่เป็นลายสักยันต์ที่ไม่เหมือนที่พบได้ทั่วไป
PUBLISHER:
หอภาพถ่ายล้านนา ,มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
OTHER CONTRIBUTORS:
สาขาวิชาศิลปะการถ่ายภาพ ภาควิชาสื่อศิลปะและการออกแบบสื่อ คณะวิจิตรศิลป์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
DATE:
08/04/2562
RESOURCE TYPE:
จิตรกรรมฝาผนัง
FORMAT:
Image/jpeg
RESOURCE IDENTIFIER:
คณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิหอภาพถ่ายล้านนา ในกำกับของกรรมการอำนวยการหอภาพถ่ายล้านนา
SOURCE:
จิตรกรรมฝาผนัง
LANGUAGE:
ไทย/อังกฤษ
RELATION:
พระบฏ คือ ผืนผ้าที่มีรูปพระพุทธเจ้าเป็นต้นและแขวนไว้เพื่อบูชา คำว่า บฏ มาจากคำในภาษาบาลีว่า ปฏ (อ่านว่า ปะ-ตะ) แปลว่า ผ้าทอ หรือ ผืนผ้า ส่วนมากเป็นผ้าแถบยาว มีวาดภาพพระพุทธเจ้า นิยมแขวนไว้ในสถานที่จัดพิธีกรรมในพุทธศาสนา ใช้แทนที่พระพุทธรูป เพื่อเป็นที่เคารพบูชา ในล้านนาเรียกกันว่า “ตุงค่าว” หรือ ตุงค่าวธรรม ใช้ประกอบพิธีกรรมทางศาสนา เช่น เทศน์มหาชาติ เเละตั้งธรรมหลวง เป็นต้น |
COVERAGE:
RIGHT MANAGEMENT:
หอภาพถ่ายล้านนา ,มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
Physical Data
COLLECTION NAME:
ลำพูน
IMAGE CODE:
02_28_20190617_MR28-01_12
SUBJECT AGE:
ประมาณกลางพุทธศตวรรษที่ 25
CATEGORY:
ภาพจิตรกรรมบนผืนผ้า (พระบฏ)
PROVENANCE:
รองศาสตราจารย์กันต์ พูนพิพัฒน์
COVERAGE:
ORIGINAL SIZE:
147 x 86 cm.
DIGITAL SIZE:
2525 x 4000 Pixels