Description
Digital Data
TITLE:
เชียงใหม่
AUTHOR:
หอภาพถ่ายล้านนา ,มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
KEYWORDS:
กัณฑ์ที่ 10, กัณฑ์ที่ 11, กัณฑ์ที่ 6 พรหมจาริกกัณฑ์, การนุ่งผ้าซิ๋นเเบบล้านนา, กาวินทราชยุทธ, จันทคาธชาดก, จันทคาปูจี่, จิตรกรรมวัดป่าแดด, ฉัตร, ฉัตรเกิ้ง, ช้าง, ช้างทรง, ชาดก, ซิ่นต๋า, ตำบลท่าผา, ธง, ธงไชย, นางพรหมจารี, นางสุริยโยธา, นางเทวธิสังกา, นุ่งผ้าต้อย, ประวัติศาสตร์ล้านนา, ประวัติศาสตร์เชียงใหม่, ประเทศไทย, ปัญญาสชาดก, พญาสุทัสสนจักร, พรหมจริยาอภิสัญจนกัณฑ์, พระเจ้ากาวินทะ, ภาคเหนือ, ภาพถ่ายจิตรกรรมฝาผนัง, มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, ม้า, ล้านนา, สถาปัตยกรรมศิลปะพม่า, สถาปัตยกรรมเเบบพม่า, สักขาลาย, สักยันต์, สักเตี่ยวก้อม, สัปทน, หอภาพถ่ายล้านนา, อำเภอแม่แจ่ม, เค็ดม้าม, เครื่องทรงกษัตริย์เเบบพม่า, เชียงใหม่, เมืองปัญจาล, เมืองอนุราธะ, เมืองเวสาลี, ไตรเพท
DESCRIPTION:
จิตรกรรมในห้องที่ 3 ฝั่งทิศใต้นี้ยังเป็นเรื่องราวของจันทคาธชาดกหรือ จันทคาปูจี่ จันธคาธชาดก โดยเขียนจิตรกรรมในกัณฑ์ที่ 11 กาวินทราชยุทธกัณฑ์เพียงกัณฑ์เดียวบนจิตรกรรมในห้องนี้
ความเดิม ในกัณฑ์ที่ 6 พรหมจาริกกัณฑ์ พญาสุทัสสนจักรเมื่อไปสู่ขอและไม่ได้นางเทวธิสังกาพระบิดาจึงไปสู่ขอนางพรหมจารีพระธิดาของพระเจ้าธัมมขันติ แห่งเมืองอนุราธะมาเป็นพระชายา เมื่อแต่งงานกันแล้วพญาสุทัสสนจักรไม่พอใจนางพรหมจารีทะเลาะกันบ่อยครั้ง จนในที่สุดได้จับนางพรหมจารีลอยแพไป ต่อมาในกัณฑ์ที่ 10 พรหมจริยาอภิสัญจนกัณฑ์ จันทคาธได้ไปพบและช่วยเหลือนางพรหมจารีที่ถูกลอยแพ แล้วได้นำไปฝากกับนางสุริยโยธาที่เมืองปัญจาลซึ่งเป็นมารดาเลี้ยงของนางพรหมจารี เพื่อให้นางสุริยโยธาผู้มีความรู้ด้านไตรเพทและความเชี่ยวชาญในการต่อสู้ให้สอนนางพรหมจารี เพื่อที่จะนำไปล้างแค้นต่อพญาสุทัสสนจักร ในเวลาเดียวกันพระมเหษีของพระเจ้ากาวินทะแห่งเมืองเวสาลีได้สิ้นพระชนม์ลง พระองค์ใคร่ได้นางพรหมจารีมาเป็นพระมเหษีใหม่จึงได้ส่งฑูตมาขอ แต่พระเจ้าธัมมขันติปฎิเสธและแจ้งว่าได้ยกให้กับพญาสุทัสสนจักรไปนานแล้ว หลังจากนั้นเมื่อจันทคาธและนางพรหมจารีได้เรียนวิชาต่างๆสำเร็จได้เดินทางกลับมาหาพระเจ้ากาวินทะ และได้เล่าเรื่องทั้งหมดให้พระบิดาฟัง พระเจ้ากาวินทะจึงให้จันทคาธอภิเษกกับนางพรหมจารีและยกเมืองอนุราธะให้ครอง
เนื้อหาในห้องที่ 3 ฝั่งทิศใต้เป็นกัณฑ์ที่ 11 กาวินทะราชยุทธกัณฑ์ พระเจ้ากาวินทะเมื่อมาสู่ขอนางพรหมจารีรอบแรกไม่สำเร็จ จึงโปรดให้แต่งฑูตมาเจรจาอีกรอบหนึ่งทำให้นางพรหมจารีไม่พอใจในการใช้อำนาจของพระเจ้ากาวินทะจึงตรัสบริภาษอย่างรุนแรง ครั้นเมื่อพระเจ้ากาวินทะทรงทราบทรงกริ้วเป็นอย่างมากโปรดให้เกณฑ์กำลังพลจากนครต่างๆมารบกับเมืองอนุราธะ จันทคาธร่วมกับนางพรหมจารีพร้อมกำลังพลฝ่ายหญิงออกร่วมรบ จันทคาธและนางพรหมจารีเป็นฝ่ายที่ชนะ บรรดากษัตริย์ที่เป็นฝ่ายพระเจ้ากาวินทะยอมเป็นข้าและส่งเครื่องราชบรรณาการมาถวาย และยินดีร่วมออกรบกับนางพรหมจารีในการแก้แค้นกับพญาสุทัสสนจักร ในภาพเริ่มเล่าเรื่องที่ซ้ายมือของภาพเป็นเรื่องราวของฑุตของพระเจ้ากาวินทะมาสู่ขอนางพรหมจารีรอบที่สอง ฝั่งขวามือเป็นเรื่องที่จันทคาธกำลังออกรบต่อกรกับพระเจ้ากาวินทะ ด้านมุมขวาบนจิตรกรรมค่อนข้างเลือนลางฉากที่มีการเขียนแบ่งภาพโดยใช้เส้นเขียนกั้นไว้ น่าจะเป็นจิตรกรรมตอนที่พระเจ้ากาวินทะพ่ายแพ้ต่อจันทคาธต้องนำน้ำมาล้างเท้าจันทคาธ และเช่นเดียวกับจิตรกรรมห้องอื่นๆที่นำส่วนประกอบต่างๆของศิลปกรรมแบบพม่ามาใช้เป็นหลักโดยนำเรื่องราวของสภาพแวดล้อมในเมืองแม่แจ่มมาผสมผสานลงไปด้วย
ความเดิม ในกัณฑ์ที่ 6 พรหมจาริกกัณฑ์ พญาสุทัสสนจักรเมื่อไปสู่ขอและไม่ได้นางเทวธิสังกาพระบิดาจึงไปสู่ขอนางพรหมจารีพระธิดาของพระเจ้าธัมมขันติ แห่งเมืองอนุราธะมาเป็นพระชายา เมื่อแต่งงานกันแล้วพญาสุทัสสนจักรไม่พอใจนางพรหมจารีทะเลาะกันบ่อยครั้ง จนในที่สุดได้จับนางพรหมจารีลอยแพไป ต่อมาในกัณฑ์ที่ 10 พรหมจริยาอภิสัญจนกัณฑ์ จันทคาธได้ไปพบและช่วยเหลือนางพรหมจารีที่ถูกลอยแพ แล้วได้นำไปฝากกับนางสุริยโยธาที่เมืองปัญจาลซึ่งเป็นมารดาเลี้ยงของนางพรหมจารี เพื่อให้นางสุริยโยธาผู้มีความรู้ด้านไตรเพทและความเชี่ยวชาญในการต่อสู้ให้สอนนางพรหมจารี เพื่อที่จะนำไปล้างแค้นต่อพญาสุทัสสนจักร ในเวลาเดียวกันพระมเหษีของพระเจ้ากาวินทะแห่งเมืองเวสาลีได้สิ้นพระชนม์ลง พระองค์ใคร่ได้นางพรหมจารีมาเป็นพระมเหษีใหม่จึงได้ส่งฑูตมาขอ แต่พระเจ้าธัมมขันติปฎิเสธและแจ้งว่าได้ยกให้กับพญาสุทัสสนจักรไปนานแล้ว หลังจากนั้นเมื่อจันทคาธและนางพรหมจารีได้เรียนวิชาต่างๆสำเร็จได้เดินทางกลับมาหาพระเจ้ากาวินทะ และได้เล่าเรื่องทั้งหมดให้พระบิดาฟัง พระเจ้ากาวินทะจึงให้จันทคาธอภิเษกกับนางพรหมจารีและยกเมืองอนุราธะให้ครอง
เนื้อหาในห้องที่ 3 ฝั่งทิศใต้เป็นกัณฑ์ที่ 11 กาวินทะราชยุทธกัณฑ์ พระเจ้ากาวินทะเมื่อมาสู่ขอนางพรหมจารีรอบแรกไม่สำเร็จ จึงโปรดให้แต่งฑูตมาเจรจาอีกรอบหนึ่งทำให้นางพรหมจารีไม่พอใจในการใช้อำนาจของพระเจ้ากาวินทะจึงตรัสบริภาษอย่างรุนแรง ครั้นเมื่อพระเจ้ากาวินทะทรงทราบทรงกริ้วเป็นอย่างมากโปรดให้เกณฑ์กำลังพลจากนครต่างๆมารบกับเมืองอนุราธะ จันทคาธร่วมกับนางพรหมจารีพร้อมกำลังพลฝ่ายหญิงออกร่วมรบ จันทคาธและนางพรหมจารีเป็นฝ่ายที่ชนะ บรรดากษัตริย์ที่เป็นฝ่ายพระเจ้ากาวินทะยอมเป็นข้าและส่งเครื่องราชบรรณาการมาถวาย และยินดีร่วมออกรบกับนางพรหมจารีในการแก้แค้นกับพญาสุทัสสนจักร ในภาพเริ่มเล่าเรื่องที่ซ้ายมือของภาพเป็นเรื่องราวของฑุตของพระเจ้ากาวินทะมาสู่ขอนางพรหมจารีรอบที่สอง ฝั่งขวามือเป็นเรื่องที่จันทคาธกำลังออกรบต่อกรกับพระเจ้ากาวินทะ ด้านมุมขวาบนจิตรกรรมค่อนข้างเลือนลางฉากที่มีการเขียนแบ่งภาพโดยใช้เส้นเขียนกั้นไว้ น่าจะเป็นจิตรกรรมตอนที่พระเจ้ากาวินทะพ่ายแพ้ต่อจันทคาธต้องนำน้ำมาล้างเท้าจันทคาธ และเช่นเดียวกับจิตรกรรมห้องอื่นๆที่นำส่วนประกอบต่างๆของศิลปกรรมแบบพม่ามาใช้เป็นหลักโดยนำเรื่องราวของสภาพแวดล้อมในเมืองแม่แจ่มมาผสมผสานลงไปด้วย
PUBLISHER:
หอภาพถ่ายล้านนา ,มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
OTHER CONTRIBUTORS:
สาขาวิชาศิลปะการถ่ายภาพ ภาควิชาสื่อศิลปะและการออกแบบสื่อ คณะวิจิตรศิลป์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
DATE:
08/06/2562
RESOURCE TYPE:
จิตรกรรมฝาผนัง
FORMAT:
Image/jpeg
RESOURCE IDENTIFIER:
คณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิหอภาพถ่ายล้านนา ในกำกับของกรรมการอำนวยการหอภาพถ่ายล้านนา
SOURCE:
จิตรกรรมฝาผนัง
LANGUAGE:
ไทย/อังกฤษ
RELATION:
COVERAGE:
RIGHT MANAGEMENT:
หอภาพถ่ายล้านนา ,มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
Physical Data
COLLECTION NAME:
เชียงใหม่
IMAGE CODE:
02_26_20190608_MR26-06_29
SUBJECT AGE:
ประมาณปี พ.ศ.2431
CATEGORY:
จิตรกรรมฝาผนัง
PROVENANCE:
รองศาสตราจารย์กันต์ พูนพิพัฒน์
COVERAGE:
ORIGINAL SIZE:
173 x 234 cm.
DIGITAL SIZE:
3080 x 2300 Pixels.