Description
Digital Data
ห้องที่ 3 ทิศเหนือ ภาพจิตรกรรมฝาผนังด้านทิศเหนือของวิหารในห้องที่ 3 เป็นเรื่องของ ภาพพุทธประวัติจากขวาไปซ้าย มุมขวาล่างเป็นตอนพระพุทธเจ้าประสูติ ด้านกลางภาพเป็นตอนที่พระเจ้าสุโทธนะทรงแรกนาขวัญ ด้านล่างซ้ายสุดเจ้าชายสิธัตถะประทับปราสาทสามฤดู ทรงประลองศร เนื้อหาตามพุทธประวัติ ส่วนภาพมุมขวาบนเป็นภาพพระเจ้าสุโทธนะประทับอยู่บนปราสาทที่มีลักษณะของสถาปัตยกรรมแบบพม่า ได้มีรับสั่งกับอำมาตย์ทีถือกระดานฉนวนโดยที่ในกระดานฉนวนมีเขียนคำจารึกอักษรธรรมล้านนาไว้ว่า “จุลศักราช 1250 (พ.ศ.2431) ปีเบิกไช้” ซึ่งสันนิฐานว่าช่างได้สอดแทรกเป็นปีที่เขียนจิตรกรรม ซึ่งในภาพมีการวาดภาพที่สะท้อนวิถีชีวิตชาวอำเภอแม่แจ่มในสมัยนั้นลงไปอีกด้วยตัวอย่างเช่นมีการทำนา และเครื่องใช้ประเภทต่างๆตัวอย่างเช่นขันต่างๆที่ทำมาจากเครื่องเขิน ทั้งนี้รวมถึงการแต่งกายของชายหญิงอีกด้วย ปลือยอกนุ่งผ้าพื้นเรียบเป็นการนุ่งที่เรียกว่า “เค็ดม้าม” หรือทางภาคกลางเรียกว่า”ถกเขมร” เผยให้เห็นรอยสักยันต์ที่สักยันต์ตั้งแต่ท้องน้อยจนเหนือเข่า การสักยันต์นี้เป็นวัฒนธรรมอย่างหนึ่งของชายชาวไทยวนในแถบบริเวณนี้ การแต่งกายของหญิงในภาพจิตรกรรมเป็นรูปแบบของหญิงชาวไทยวนในล้านนา คือมีการนำผ้าแถบพื้นสีเรียบหรือผ้าลายมาพันอก และบางครั้งก็เปลือยอกมีการทำผมมุ่นมวยต่ำไว้ด้านหลัง นุ่งผ้า “ซิ่นตีนจก”หรือ “ซิ่นต๋า” เป็นผ้าซิ่นที่มีลวดลายเส้นแนวขวางลำตัวต่อด้วยตีนซิ่นที่ทอด้วยกรรมวิธีการจก ที่ล้วนเป็นเอกลักษณ์ของหญิงชาวไทยวนในแถบนี้ รวมถึงงานสถาปัตยกรรมแบบพม่าที่มีเข้ามาในดินแดนล้านนาอีกด้วย
Physical Data