Description
Digital Data
ภาพปั๊บสาวัดหนองบัวคู่แรกด้านหน้า
ภาพลายเส้นบนปั๊บสาวัดหนองบัวคู่แรกด้านหน้าเป็นภาพชายชาวพม่า 2 คน มีการแต่งกายแบบชาวพม่าคล้ายกันทั้ง 2 คนโดยการแต่งกายนุ่งผ้าแบบนี้เป็นของผู้ชายพม่าที่มีฐานะในสมัยโบราณ และส่งอิทธิพลมาถึงราชสำนักและชนชั้นปกครองของไทใหญ่ด้วย และอิทธิพลของพม่าน่าจะแผ่ขยายเข้ามาในล้านนาตั้งแต่ช่วงสมัยอยุธยา และแผ่ไกลมาจนถึงล้านนาตะวันออกคือเมืองน่าน เราจึงพบลักษณะการแต่งกายแบบพม่าทั้งในภาพจิตรกรรม รวมถึงการแต่งกายของชนชั้นปกครอง การนุ่งผ้านุ่งผืนยาวลักษณะนี้เรียกว่าผ้านุ่ง “ต่าวง์เฉ่ญ์ปะโซ”ต่าวง์เฉ่ญ์” แปลว่า ยาวหลายศอก “ปะโซ” แปลว่า ผ้านุ่ง การนุ่งโดยทั่วไปก็จะนุ่งผ้าโดยใช้ปลายผ้าด้านหนึ่ง ผ้าส่วนยาวที่เหลือก็จับขึ้นมาเป็นจีบใหญ่ๆตามชอบและเหน็บไว้ด้านหน้าให้ผ้าห้อยออกมาเป็นเชิง
แต่ในภาพที่เห็นเป็นการนุ่งที่ผ่อนคลายกว่า เป็นแบบลำลอง ซึ่งชายผ้าก็ไม่ได้เหน็บด้านหน้า แต่ตวัดขึ้นมาพาดที่แขนหรือพาดบ่าคลุมที่ไหล่ได้ ส่วนทรงผมไม่ได้มีชื่อทรง แต่เป็นผมมวยแบบโบราณชายพม่านิยมไว้ผมยาวและมวยเป็นจุกกลางกระหม่อมส่วนผ้าโพกผมเรียกว่า “เคาวง์บ่าวง์” และวิธีโพกแบบนี้เรียกว่า “เพาะโลง” เป็นการโพกผมแบบราชสำนักของพม่า แล้วนิยมไว้หนวดทำปลายแหลมเช่นในภาพ และภาพคนขวามือที่ติ่งหูมีร่องรอยของการเจาะหูขนาดใหญ่อีกด้วย ส่วนชายคนซ้ายมือมีการคีบบุหรี่อยู่ในมือ
Physical Data