Description
Digital Data
TITLE:
ลำปาง
AUTHOR:
หอภาพถ่ายล้านนา,มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
KEYWORDS:
กัณฑ์ที่ 4, กัณหา, การนุ่งโจงกระเบน, จิตรกรรมภาพพระบฏ, ชาลี, ซิ่นต๋า, ซิ่นตีนจก, ตุงค่าว, ตุงค่าวธรรม, ถกเขมร, ท้าววิษณุกรรม, ท้าวสักกะเทวราช, นุ่งผ้าต้อย, ประวัติศาตร์ล้านนา, ประวัติศาสตร์ลำปาง, ประเทศไทย, พระกัณหา, พระชาลี, พระนางมัทรี, พระบฏ, พระฤๅษี, พระศรีอาริย์, พระเวสสันดรชาดก, ภาคเหนือ, ภาพพระบฏ, ภาพเขียนพระบฏ, มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, ฤๅษี, ล้านนา, ลำปาง, วนประเวศน์, วัดทุ่งคา, สี่กษัตริย์, หอภาพถ่ายล้านนา, อำเภอเเจ้ห่ม, เขาวงกต, เค็ดม้าม, เครื่องทรงกษัตริย์, เมืองกลิงคราฐ, เมืองสิพี, เวสสันดร, เวสสันดรชาดก, โจงกระเบน
DESCRIPTION:
แผ่นที่ 9 กัณฑ์ที่ 4 วนประเวศน์
ภาพวาดแผ่นนี้เป็นกัณฑ์ที่กัณฑ์ที่ 4 วนประเวศน์ตอนหลังคือ เมื่อเสด็จถึงถึงเขาวงกตได้พบศาลาอาศรม ซึ่งท้าววิษณุกรรมเนรมิตตามพระบัญชาของท้าวสักกะเทวราช กษัตริย์ทั้งสี่จึงทรงผนวชเป็นฤๅษีพำนักในอาศรมสืบมา ด้านล่างของภาพเป็นตอนที่สี่กษัตริย์เดินบ่ายสู่เขาวงกตมีสุนัขวิ่งตาม พร้อมพรานเจตบุตรและเหล่าทหาร ด้านบนของภาพเป็นคอนที่สี่กษัตริย์ได้พบศาลาอาศรม ซึ่งท้าววิษณุกรรมเนรมิตตามพระบัญชาของท้าวสักกะเทวราช อาศรมมีรูปแบบของสถาปัตยกรรมของล้านนา ภายในอาศรมมีชุดของพระฤๅษีที่ท้าววิษณุกรรมเนรมิตเพื่อถวายแด่ทั้งสี่กษัตริย์ การแต่งกายของพระเวสสันดรทรงเครื่องแบบกษัตริย์ ส่วนพระนางมัทรีมีการแต่งกายคือ ผ้ามาคลุมไหล่มีการทำผมมุ่นมวยไว้ด้านหลัง นุ่งผ้า “ซิ่นตีนจก”เป็นผ้าซิ่นที่มีลวดลายเส้นในแนวขวางลำตัวต่อด้วยตีนจก ตีนจกคือผ้าที่นำมาต่อล่างสุดของซิ่นมีลวดลายที่เกิดจากกรรมวิธีการจก ที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะของหญิงชาวไทยวนในแถบนี้
ภาพวาดแผ่นนี้เป็นกัณฑ์ที่กัณฑ์ที่ 4 วนประเวศน์ตอนหลังคือ เมื่อเสด็จถึงถึงเขาวงกตได้พบศาลาอาศรม ซึ่งท้าววิษณุกรรมเนรมิตตามพระบัญชาของท้าวสักกะเทวราช กษัตริย์ทั้งสี่จึงทรงผนวชเป็นฤๅษีพำนักในอาศรมสืบมา ด้านล่างของภาพเป็นตอนที่สี่กษัตริย์เดินบ่ายสู่เขาวงกตมีสุนัขวิ่งตาม พร้อมพรานเจตบุตรและเหล่าทหาร ด้านบนของภาพเป็นคอนที่สี่กษัตริย์ได้พบศาลาอาศรม ซึ่งท้าววิษณุกรรมเนรมิตตามพระบัญชาของท้าวสักกะเทวราช อาศรมมีรูปแบบของสถาปัตยกรรมของล้านนา ภายในอาศรมมีชุดของพระฤๅษีที่ท้าววิษณุกรรมเนรมิตเพื่อถวายแด่ทั้งสี่กษัตริย์ การแต่งกายของพระเวสสันดรทรงเครื่องแบบกษัตริย์ ส่วนพระนางมัทรีมีการแต่งกายคือ ผ้ามาคลุมไหล่มีการทำผมมุ่นมวยไว้ด้านหลัง นุ่งผ้า “ซิ่นตีนจก”เป็นผ้าซิ่นที่มีลวดลายเส้นในแนวขวางลำตัวต่อด้วยตีนจก ตีนจกคือผ้าที่นำมาต่อล่างสุดของซิ่นมีลวดลายที่เกิดจากกรรมวิธีการจก ที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะของหญิงชาวไทยวนในแถบนี้
PUBLISHER:
หอภาพถ่ายล้านนา,มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
OTHER CONTRIBUTORS:
สาขาวิชาศิลปะการถ่ายภาพ ภาควิชาสื่อศิลปะและการออกแบบสื่อ คณะวิจิตรศิลป์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
DATE:
07/02/2558
RESOURCE TYPE:
จิตรกรรมภาพพระบฏ
FORMAT:
Image/jpeg
RESOURCE IDENTIFIER:
คณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิหอภาพถ่ายล้านนา ในกำกับของกรรมการอำนวยการหอภาพถ่ายล้านนา
SOURCE:
จิตรกรรมฝาผนัง
LANGUAGE:
ไทย/อังกฤษ
RELATION:
–
COVERAGE:
วัดทุ่งคา อ.เเจ้ห่ม จ.ลำปาง ภาคเหนือ ประเทศไทย
RIGHT MANAGEMENT:
หอภาพถ่ายล้านนา,มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
Physical Data
COLLECTION NAME:
ลำปาง
IMAGE CODE:
02_25_20150207_MR25-01_09
SUBJECT AGE:
ประมาณกลางพุทธศตวรรษที่ 25
CATEGORY:
จิตรกรรมภาพพระบฏ
PROVENANCE:
ร.ศ.กันต์ พูนพิพัฒน์
COVERAGE:
วัดทุ่งคา อ.เเจ้ห่ม จ.ลำปาง ภาคเหนือ ประเทศไทย
View map
View map
ORIGINAL SIZE:
85.5 x 140 cm
DIGITAL SIZE:
2998 x 4642 Pixels